เป้าหมาย

เป้าหมาย
ประโยชน์ ของฝายชะลอน้ำ
1. ฝายช่วยชะลอน้ำ ชะลอการไหลของน้ำ จากเดิมที่ฤดูน้ำหลากน้ำจะหลากลงสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็ว
2. ชะลอความแรงของน้ำหลาก ช่วยลดการกัดเซาะของตลิ่งลำน้ำ
3. ช่วยดักตะกอนแม่น้ำ กิ่งไม้ เศษไม้ ดิน โคลน ทราย ทำให้ลำน้ำหลังฝายตื้นเขินช้าลง เก็บกักน้ำ ทำให้เกิดความชุ่มชื้น ในบริเวณฝายและพื้นที่เหนือฝาย
4. ใช้ทำการเกษตรบริเวณใกล้เคียงได้ตลอดทั้งปี เช่น ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ทำไร่ ทำสวน
5. เป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำ
6. เป็นแหล่งอาหารของชาวบ้าน ในพื้นที่ฝาย เช่น ปลา สาหร่ายน้ำจืด(เตา)
7. สร้างรายได้ให้ชาวบ้าน เช่น เก็บสาหร่ายน้ำจืด(เตา)ไปขาย
8. เก็บความชุ่มชื้น เพิ่มปริมาณ น้ำใต้ดิน เป็นประโยชน์ ในการทำประปาหมู่บ้าน
9. ใช้สัญจรขนส่ง สินค้าทางการเกษตร ข้ามลำน้ำ ร่นระยะทางการขนส่งได้
10. เป็นแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อน หย่อนใจ ของชาวบ้าน เช่น เด็กเล่นน้ำคลายร้อน สถานที่ออก กำลังกาย
11. เป็นสถานที่จัดงานประเพณีต่างๆ เช่น งานประเพณีลอยกระทง การแข่งเรือประเพณี
โดยนายวัฒนา ผาทอง รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ได้ตั้งข้อสังเกตพร้อมกับให้ข้อเสนอแนะ ว่าจากการสร้างฝายชะลอน้ำชุดแรก ทำให้ฝายแข็งแรงไม่เพียงพอ เนื่องจากขาดความชำนาญ ซึ่งในการการสร้างฝายตัวแรกๆ ของลำน้ำ ต้องสร้างให้แข็งแรงกว่าปกติ เพื่อทนต่อแรงน้ำหลาก ในฤดูฝน และนอกจากนี้ ควรใช้หินก้อนใหญ่ในการสร้างฝายชะลอน้ำ ทำให้ฝายชะลอน้ำแข็งแรง ทนต่อน้ำหลากได้ดี พร้อมกันนี้ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้กับบริเวณฝาย ต้องการพันธุ์สัตว์น้ำ ปล่อยในฝายกักเก็บน้ำเพื่อเพาะพันธ์ เหนือฝาย และจะได้เป็นแหล่งอาหารของชาวบ้านต่อไป ซึ่งหลังจากการสร้างฝายชะลอน้ำแล้วเสร็จ ต้องมีการปรับปรุง ซ่อมแซม ฝายที่เสียหาย และต่อยอดให้มีประโยชน์มากขึ้น เช่น เทคอนกรีตบนสันฝาย เพื่อใช้สัญจร ข้ามลำน้ำ
ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ได้จัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำโดยการสร้างฝาย และแหล่งเก็บกักน้ำ ต่างๆ เช่น
- โครงสร้างฝายชะลอน้ำเร่งด่วน ตามโครงการ Flagship (แฟลกชิป) ซึ่งมีเป้าหมายทั้งหมด 790 ฝาย ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ช่วยในการชะลอการไหลของน้ำ ดักตะกอนแม่น้ำ และยังเป็นการชะลอความชุ่มชื้นให้คงอยู่กับผืนป่าต้นน้ำให้ยาวนานยิ่งขึ้น
- ฝายชะลอน้ำ หรือ ฝายหินทิ้ง มี 2 ขนาด คือ ขนาดความยาวสันฝายเฉลี่ย 6 เมตร และขนาดความยาวสันฝายเฉลี่ย 15 เมตร ตามสภาพพื้นที่
- โครงการชาวแพร่ร้อยใจเป็นหนึ่งเดียวสร้างฝายถวายพ่อหลวง 8400 ฝาย เพื่อบรรเทา ปัญหาการขาดแคลนน้ำในหลายพื้นที่ในจังหวัดแพร่ และเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดิน สร้างความชุ่มชื้นให้พื้นที่ต้นน้ำ
- โครงการสร้างฝายถวายพ่อหลวง ใช้ยางรถยนต์วัสดุท้องถิ่นสร้างฝายเพื่อช่วยชะลอและกักเก็บน้ำ สร้างความชุ่มชื้นให้กับบริเวณตนน้ำ
- โครงการสร้างสระเรียงหิน เพื่อเป็นแหล่งเก็บน้ำ ให้กับชาวบ้านในพื้นที่
จากการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ทำให้เกิดความเห็นที่แตกต่างกัน ทั้งสนับสนุน และเสนอแนะปัญหา ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการต่อไป การแก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยของชาวแพร่ให้ยั่งยืน จะต้องอาศัยความร่วมมือและจากทุกภาคส่วน เป็นพลังในการผลักดันโครงการต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนชาวแพร่ต่อไป






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น